งานป้องกันสนิมโครงสร้างบ้านริมน้ำเค็ม กับ I-Guard
ตั้งอยู่ที่ 40/9 หมู่1 ต.นาโคก อ.เมือง จ.สมุทรสาคร 74000
บริเวณรอบๆบ้านเป็นน้ำเค็มทั้งหมด เลี้ยงกุ้งกุลาดำแบบธรรมชาติ ปลากระพง ปูเล โครงสร้างบ้านหลังนี้ อายุก่อนการติดตั้ง 2 ปีโดยประมาณ เป็นสนิมทั้งหมด I-Guard Team เข้าทำการติดตั้งเครื่องป้องกันสนิมด้วยประจุไฟฟ้าภายใต้ชั้นสี I-Guard รุ่น IGS-8 ให้กับโครงสร้างในเนื้อที่ไม่เกิน 40 ตรม.เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2559
สนิมที่เกิดขึ้นกับโครงสร้าง บ้านริมน้ำ(เค็ม)คือ สนิมขุม
สนิมขุม คือ สนิมที่เกิดขึ้นแล้วสร้างความเสียหายให้กับเหล็ก โดยจะกัดกร่อนเนื้อเหล็กให้มีขนาดเล็กลงจนเสียคุณสมบัติในการรับแรงไป และหากปล่อยไว้นานเหล็กอาจจะขาดจนทะลุจนเสียรูปไปได้ ต่างจาก ”สนิมผิว” ซึ่งเป็นแค่เป็นสนิมที่เกิดขึ้นบริเวณผิวเหล็ก ไม่ทำความเสียหายให้กับเนื้อเหล็ก และยังสามารถขัดทำความสะอาดได้
สนิมขุมมักเกิดขึ้นกับเหล็กเส้นกลม หรือเหล็กข้ออ้อยที่ใช้เป็นเหล็กเสริมในงานโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก และอาจเกิดขึ้นกับเหล็กโครงสร้างรูปพรรณต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เหล็กกล่อง เหล็กตัว C เหล็กตัว H เหล็กตัว I ฯลฯ รวมถึงส่วนประกอบอื่นๆ ที่ทำจากเหล็กในงานก่อสร้างด้วย เช่น บานพับ เหล็กดัด ท่อระบายน้ำ เป็นต้น เกิดจากการที่ออกซิเจนในอากาศหรือน้ำมาทำปฏิกิริยากับเหล็ก สามารถเกิดขึ้นได้ง่ายในพื้นที่เขตร้อน-ชื้นแบบประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาคารที่ตั้งอยู่ใกล้ทะเลหรือแม่น้ำ ในระหว่างก่อสร้างจึงควรเก็บเหล็กไว้ในที่แห้งและมีหลังคาคลุม ไม่ควรวางเหล็กไว้บนพื้นดินหรือพื้นส่วนที่สามารถมีน้ำขังได้ สำหรับเหล็กที่ใช้ในงานโครงสร้างที่ต้องสัมผัสกับอากาศและความชื้น ควรเลือกเหล็กที่มีการเคลือบหรือทาสีเพื่อป้องกันสนิมเอาไว้แล้ว หากเหล็กเกิดสนิมที่ผิวด้านนอกควรรีบขัดออกก่อนที่จะกลายเป็นสนิมขุมและสร้างความเสียหายให้เนื้อเหล็กได้ในภายหลัง ส่วนเหล็กที่เป็นสนิมขุมไม่ควรนำมาใช้งานอีกต่อไป เนื่องจากจะมีผลต่อความมั่นคงแข็งแรงในโครงสร้าง
จากภาพ จะเห็นร่องรอยการเกิดสนิม เนื่องจากชั้นสีเกิดการหลุดร่อน ผิวหน้าเหล็กเปิดสัมผัสกับอากาศ ผลลัพธ์ที่ได้คือ การเกิด ออกไซด์(หรือสนิมนั่นเอง)
เพราะในเหล็ก 1 แผ่น อย่างที่เราทราบกันดีว่า มันจะมีประจุอิสระ ทั้งประจุบวก(+)และประจุลบ(-)วิ่งกันไปมา เมื่อมีความชื้น ความเค็มต่างๆซึ่งเป็นประจุลบ(-)จากภายนอกมากระทำที่ผิวเหล็กจะเกิดการจับคู่กันทันที เมื่อประจุลบ(-)กับประจุบวก(+)จับคู่กันจะเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นทันที หรือที่เราเรียกกันว่า "สนิม"นั่นเอง
เมื่อมีการติดตั้งเครื่องป้องกันสนิมด้วยประจุไฟฟ้าภายใต้ชั้นสี I-Guard ระบบป้องกันสนิมของ I-Guard จะเข้าทำการจัดเรียงประจุใหม่ทันที เหล็กด้านใดที่สัมผัสกับอากาศ หรือความชื้น I-Guard จะจัดเรียงประจุลบ(-)ขึ้นมาที่หน้าผิวเหล็กทันที ทำให้ประจุในอากาศไม่สามารถมาจับคู่กับประจุบวกที่ผิวเหล็กได้ วิธีนี้จึงไม่มีการกัดกร่อนเกิดขึ้น ไม่ว่าจะอยู่ในสภาวะเเห้งหรือชื้น เป็นการป้องกันสนิมที่ต้นเหตุ เพราะเรารู้ว่าสนิมเกิดจากอะไร เราจึงเข้าทำการเเก้ไขตรงนั้น
เริ่มทำความสะอาดเหล็กก่อนการติด Anode (แผ่นกระจายประจุ) 1 แผ่นต่อ 4-5 ตรม.ในการ กระจายประจุ
แอโนด (Anode) คือเเร่ที่รับประจุบวก(+)แอโนด เป็นตัวกระจายประจุ ทำหน้าที่เหนี่ยวนำประจุลบ(-)ขึ้นมา ทำให้ประจุลบ(-)ลอยอยู่ที่ผิวเหล็ก แอโนด(Anode) 1 ตัว สามารถกระจายประจุได้ 4-5 ตรม.โดยประมาณ
1.เสาที่ขัดไว้ตอนหลังจากติดตั้งไป 3 เดือนเเรก ดูการเปลี่ยนแปลงได้ชัดเจนมาก สนิมหยุดไม่กินเนื้อเหล็ก สนิมที่เกิดขึ้นเป็นเพียงสนิมผิวเท่านั้นสามารถใช้มือลูบสนิมที่เกิดขึ้นมาออกได้ เห็นได้ชัดเจน
![]() |
ภาพ A |
![]() |
ภาพ C |
![]() |
ภาพ D |
![]() |
ภาพ E
เห็นความเเตกต่างไหมคะ ระหว่างภาพ D เเละภาพ E คือ สนิมสามารถเช็ดออกด้วยผ้าถึง 80 % นั่นหมายความว่าการผลักดันหยุดเเล้ว สำหรับโครงสร้างเหล็กด้านบนหลังคา
|
การดูเเลหลังการติดตั้งเครื่องป้องกันสนิมด้วยประจุไฟฟ้าภายใต้ชั้นสี
I-Guard
หมั่นดูไฟที่ตัวเครื่องควบคุม I-Guard ว่ายังติดอยู่ปกติหรือไม่?ถ้าผิดปกติให้รีบโทรแจ้ง ศูนย์ทันที Hotline :098-445-6942
Think of Rust Prevention Think of I-Guard.
บริษัท นวัชกฤษฎิ์ จำกัด(NAVATKIT CO.,LTD)
ผู้ผลิต จัดจำหน่าย นำเข้า และส่งออก "เครื่องป้องกันการเกิดสนิมด้วยประจุไฟฟ้าภายใต้ชั้นสี ยี่ห้อ I-Guard"สำหรับรถยนต์ และโครงสร้างที่เป็นเหล็กทุกชนิด
เช่น โครงหลังคา เมทัลชีท โกดัง โรงงาน เครื่องจักร เป็นต้น ซึ่งเป็นอุปกรณ์ในการป้องกันการกัดกร่อนของสนิม ด้วยประจุไฟฟ้า
I-Guard จะมาปฏิวัติ ด้วยเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ และผลสัมฤทธิ์เชิงประจักษ์ ที่พิสูจน์ได้ แล้วความเชื่อของคุณจะเปลี่ยนไปอย่างถาวร!!!
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น
คุณสามารถแสดงความคิดเห็นในส่วนนี้ได้ค่ะ